Support
www.dhcdeeka.com
081-565-9174
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

สรรพคุณของกระเทียม

DHCdeeka_admin | 11-12-2553 | เปิดดู 34239 | ความคิดเห็น 0

 สรรพคุณของกระเทียม

   

กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)

 

          คนไทยเราคุ้นเคยกับกลิ่นกระเทียมเป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีการนำกระเทียมมาเป็นส่วนประกอบของอาหารและได้บริโภคกันมาตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของคนไทยนั้นขาดกระเทียมไม่ได้ เพราะอาหารแทบทุกชนิดจะมีกระเทียมเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทผัด ทอด ต้ม แกงเผ็ด หรือผัดเผ็ดต่างๆ คนไทยเมื่อได้กลิ่นกระเทียมจะรู้สึกหอม และทำให้กระตุ้นความหิวได้ แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ เมื่อได้กลิ่นกระเทียมจะเบือนหน้าหนี


 

 

กระเทียมนอกจากจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารแล้ว ปัจจุบันนี้ยังนำไปใช้ในการรักษาโรคได้ด้วย เพราะได้มีการทำศึกษาวิจัยพบว่า กระเทียมมีสรรพคุณต่างๆมากมาย อาทิเช่น ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน จึงนับได้ว่ากระเทียมเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณค่า ซึ่งคนไทยไม่น่าจะมองข้ามเลยนะคะ แล้วเราจะเล่าถึงสรรพคุณของกระเทียมอย่างละเอียดให้รู้กัน


 

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย สรรพคุณทางยา

1. รักษาโรคบิด

2. ป้องกันมะเร็ง

3. ระงับกลิ่นปาก

4. ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด

5. ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด

6. มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี

7. ขับลม

 

1. ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง

         1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น

         2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี

         3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

         4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

 

สรุปประโยชน์และวิธีใช้กระเทียม

         มีฤทธิ์ในการฆ่าและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด เช่น เชื้อยีสต์, เชื้อราได้ผลดีมาก ความเข้มข้นเพียง 0.02% ต่อปริมาตร ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในน้ำเลี้ยงเชื้อได้ (ถ้าเจือจางเพียง 0.001% สามารถฆ่าเชื้ออหิวาต์และเชื้อไทฟอยด์ได้)

         รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน, โรคผิวหนังที่ติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย โดยใช้กระเทียมบดพอก หรือกระเทียมฝานทาได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับทางวงการวิทยาศาสตร์ว่ากระเทียมมีสารเคมีหรือน้ำมัน กระเทียมฆ่าเชื้อราได้ดีพอ กับยาปฏิชีวนะหลายชนิด หรือดีกว่ายาปฏิชีวนะบางอย่างเพราะยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถฆ่าเชื้อได้เฉพาะเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา การสกัดเอาน้ำมันกระเทียมให้บริสุทธิ์แล้วผสมครีมหรือขี้ผึ้งทำเป็นลักษณะครีมหรือบาล์ม อาจจะได้ผลดีมากคือช่วยให้มีการซึมซาบได้ยิ่งขึ้น

         รักษาโรคภายใน ตามความเชื่อแผนโบราณเชื่อว่ารักษาโรคบิด โรคท้องร่วง ขับน้ำได้ ขับพยาธิและพยาธิเส้นด้าย รักษาวัณโรค (นิวโมเนีย) ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ยาขับพยาธิในช่องท้อง ยาลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคหืด หอบ โรคประสาท มะเร็ง และโรคต่าง อีกมากมาย แต่เท่าที่ได้มีรายงานจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่ากระเทียมรักษาโรคภายในดังนี้คือ

   ลดความดันโลหิตสูงที่เกิดจากไขมันอุดตันหลอดเลือด เนื่องจากมีสารละลายไขมันในเส้นเลือด รับประทานเป็นประจำ 15 วัน ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงขณะรับประทานกระเทียมเป็นประจำควรจะมีการตรวจความดันโลหิตก่อน

   มีสารเป็นตัวนำของวิตามินบี1 เข้าสู่ทางเดินอาหารได้ดีเพื่อทำให้วิตามินบี1 นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน (Allithiamin) ทำให้วิตามินบี1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า และสารอัลลิซัลไฟด์จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมของวิตามินบี1 ในลำไส้ดีขึ้นเท่าตัว

   ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของผนังกระเพาะลำไส้ ป้องกันโรคท้องผูกและขับลมในกระเพาะลำไส้

   ป้องกันการเป็นวัณโรคหรือนิวโมเนียได้ สำหรับผู้ที่รับประทานกระเทียมสดเป็นประจำ เนื่องจากขณะที่รับประทานกระเทียมสารมีกลิ่นกระเทียมจะระเหยออกมาทางลมหายใจ ทางปอด สารนี้จะไปทำลายเชื้อโรคที่ทางเดินหายใจก่อนที่เชื้อจะเข้าสู่ปอด แก้ไอ ขับเสมหะ

   ป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีกลไกเช่นเดียวกับป้องกันวัณโรค คือ จากสารที่ได้จากกระเทียมจะเข้าไปยับยั้งหรือฆ่าเชื้อต่าง ที่ติดเข้าไปกับอาหาร

   ความเข้มข้นของน้ำมันกระเทียมเพียง 0.001% สามารถฆ่าเชื้ออหิวาต์และไทฟอยด์ในหลอดทดลองได้

   เมอร์แคปแตน (mercaptan) เป็นสารกำมะถันอินทรีย์ที่อยู่ในกระเทียม ช่วยทำให้เนื้อและโปรตีนที่ทำลายยาก เช่น โปรตีนจากไข่ขาว นม ละลายและดูดซึมในลำไส้ได้ง่ายขึ้น

   น้ำคั้นจากกระเทียมบดผสมน้ำอุ่น 5 เท่า ผสมเกลือเล็กน้อย อมกลั้วคอฆ่าเชื้อในปากและลำคอได้

   ในอินเดียใช้กระเทียมโขลกสระผมช่วยป้องกันผมหงอก นอกจากนี้กระเทียมยังมีไอโอดีนเช่นเดียวกับสาหร่ายทะเล หอยต่าง กุ้ง น้ำมันตับปลา สับปะรด

   น้ำคั้นกระเทียมผสมน้ำเชื่อมรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไข้หวัดเจ็บคอ น้ำมูกไหล และอาการไอ

   กระเทียมบดห่อด้วยผ้าขาวบางวางบริเวณริมฝีปากที่เกิดการอักเสบ 8-10 ชั่วโมง อาการจะบรรเทา

 

         อาหารเสริมจากกระเทียมควรผลิตโดยวิธีที่ไม่ทำลาย สารธรรมชาติของมันจะได้ประโยชน์เทียบเท่ากระเทียมสด เทคนิคการผลิตวิธีใหม่ที่เรียก aged garlic จะช่วยลดกลิ่น และสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกไป ขณะเดียวกันก็ทำให้คุณภาพคงทน หรือไม่สูญสลายไปหมด

         มีแพทย์คนหนึ่งซึ่งสนใจการรักษาโดยพืชสมุนไพรชื่อ JAMES DUKE, Ph.D. ได้วิจัยพบว่า กระเทียมมีสารประกอบ รวมกันถึง 202 ชนิด เขาบอกว่า

       "เราไม่ต้องไปหาสรรพคุณอื่นใด มาเพิ่มเติมอีก (ในการรักษาด้วยสมุนไพร) นอกจากพยายามคงสภาพ ของมันไว้ให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง245 

ผลิตภัณท์ DHC ที่มีส่วนผสมของกระเทียม

- DHC Garcinia ส้มแขก

- DHC Black Garlic กระเทียมดำ

ความคิดเห็น

วันที่: Fri May 03 09:50:19 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0