Support
foodforcell.com
AIS: 087 9911816, DTAC: 086 9784166
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เบาหวาน

kulnuch@hotmail.com | 17-02-2555 | เปิดดู 8431 | ความคิดเห็น 0

 เบาหวาน

 

      อย่าคิดนะ  ว่าเข้าวัยทองแล้วถึงได้เป็นโรคเบาหวาน โรคท๊อปฮิตของวัยชรา ปัจจุบันหนุ่มๆ สาวๆวัยทำงานนี่แหละ ก็เป็นกันไม่น้อย เห็นตัวเล็กร่างเพรียวก็ยังเป็นกับเขาได้ เพราะการกินอยู่หลับนอนของเราไม่ถูกต้อง ขณะที่เริ่มเป็นก็ไม่รู้จักสัญญาณเตือนของร่างกาย ที่เขาเรียกเราให้ดูแลเขาได้แล้ว กว่าจะรู้ก็มีน้ำตาลล้นกระแสเลือดแล้ว

     เบาหวาน  เกิดจากเรื่่องเล็กๆเพียงเรื่องเดียว แต่มีผลกระทบสูงมาก ในวงกว้าง และในทุกส่วนของร่างกาย

เบาหวาน เป็นชื่อโรคที่น่ารักนะคะ ชื่อนี้มาจากคำสองคำคือ คำว่า "เบา" หมายถึงปัสสาวะ   ส่วนคำว่า "หวาน" ก็หมายถึง รสหวานของน้ำตาลในปัสสาวะ พิสูจน์ได้โดย ฉี่ให้มดชิม

เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินไม่สมดุล คือมีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้เต็มที่ คือพาน้ำตาลกลูโคลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ หรือมีความผิดปกติทั้งสองอย่างรวมกัน

ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อันเป็นภาวะเป็นพิษ ต่อเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย เมื่อต้องผจญกับภาวะน้ำตาลสูงอยู่เป็นเวลานาน เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ น้ำตาลส่วนเกินล้นการกรองของไต ก็จะออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย สุขภาพอ่อนเพลีย

     สัญญาณเตือน

จะมี อาการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย   อาการปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะเป็นจำนวนมาก หิวบ่อย ทานจุ แต่น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) มิลลิกรัม/เดซิลิตร

คนปกติ                                                      70 – 99

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน           100 – 125

(Impaired fasting glucose, IFG )

เบาหวาน                          มากกว่าหรือเท่ากับ  126

 

      ภาวะความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ผู้ที่อ้วนหรือลงพุง

มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน เช่นพ่อ แม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน 

เคยเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์

ได้รับยาบางชนิดเช่น สเตียลอยด์

คนที่เป็นโรคของตับอ่อน

ผุ้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้  เป็นต้น

 

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน 

ระดับ น้ำตาลในเลือดที่สูง เป็นระยะเวลานาน จะเป็นพิษต่อร่างกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือดที่เป็นท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวานจะมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และมีความดันเลือดสูงกว่าปกติด้วย  ทั้งระดับน้ำตาลที่สูง ไขมันในเลือดที่สูง และความดันโลหิตที่สูงจะมีผลต่อผนังหลอดเลือด เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด เลือดผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ เกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้นๆ เสียหาย

ผลทำให้ตามัว มองเห็นไม่ชัดเนื่องจากมีต้อกระจกหรือจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจ อัมพาต เท้าชาไม่รู้สึก หรือมีอาการปวดแสบร้อนที่เท้า เป็นแผลที่เท้าเรื้อรังไม่หาย หรือนิ้วเท้าดำเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีอาการของโรคไตวาย  เช่น บวม ซีด ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นต้น  อาการของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏเมื่อเป็นโรคเบาหวานมานานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง

ตับอ่อน

เป็นอวัยวะภายในช่องท้องโดยอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน  ผลิตน้ำย่อย และฮอร์โมนชนิดอื่นอีกด้วย  

อินซูลิน

 

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สำคัญและเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่สร้างมาจาก beta cell ของตับอ่อน  ระดับของกลูโคสในกระแสเลือดเป็นตัวควบคุมการหลั่ง อินซูลินจาก beta cell

 Glucose(กลูโคส) เข้าสู่ beta cell ของตับอ่อนผ่านกระบวนการสันดาปของร่างกาย metabolite* ต่างๆ จนเข้าสู่ ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) เพื่อสร้างAGCT (รหัสพันธุกรรม)   เมื่อAGCT ใน beta cell เพิ่มมากขึ้น ทำให้แคลเซี่ยม( calcium )ไหลเข้าสู่เซลล์ ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งอินซูลินออกมา

อินซูลิน ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต มีผลต่อการเผาผลาญไขมัน เปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของไขมันในเลือดและในเนื้อเยื้ออื่นๆ เช่นไขมัน กล้ามเนื้อ

ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมาก ในวงกว้าง และในทุกส่วนของร่างกาย

 ปัญหาของเบาหวานเกิดจาก beta cell  

 การขาดฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจาก beta cell ถูกทำลาย

ต้องเติมฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต้องควบคุมปริมาณ และหยุดการใช้ไม่ได้เพราะร่างกายไม่ได้สร้างเอง

แต่ด้วยนวัตกรรมการผลิตอาหารที่ล้ำสมัย  active QH ที่เข้าลึกไปถึไมโทคอนเดรีย mitochondria ของเซลล์ เพื่อให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมาได้เอง ทำให้เซลล์ซ่อมเซลล์เอง

 

    

    

     

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Apr 19 07:28:03 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0