Support
foodforcell.com
AIS: 087 9911816, DTAC: 086 9784166
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

รูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบตัวร้าย

kulnuch@hotmail.com | 20-03-2555 | เปิดดู 7800 | ความคิดเห็น 0

รูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบตัวร้าย

     ใช่..ขึ้นหัวข้อแบบนี้แหละ ลองนึกดู คุณเคยยกของหนักมากๆจนปวดหลังประมาณว่านอนแล้วลุกขึ้้นไม่ไหว มีใช่ไหมคะ ความรู้สึกทรมานนั้นคุณจำได้ แต่อาการของคุณเป็นแค่ชั่วคราววันสองวันก็หาย

สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เจ้าตัวร้ายนี้ ทำให้เขาปวดทรมานตลอดชีวิต

ทำความรู้จักเจ้าตัวร้ายกันก่อน 

โรครูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูิมิคุ้มกันของร่างกายที่หลั่งสารออกมาทำลายเยื้อบุข้อ เป็นผลทำให้เยื้อบุข้ออักเสบหนาตัวขึ้น สร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น สังเกตเห็นได้ว่ามีอาการปวด บวม แดงร้อนที่ข้อ ข้อฝืดแข็ง ถ้าปล่อยไว้นานเรื้อรัง จะเกิดการทำลายข้อ กระดูก กระดูกอ่อนผิวข้อและส่วนประกอบต่างๆของข้อจึงทำให้เกิดอาการข้อผิดรูป โค้งงอได้

และยังมีอาการเกี่ยวกับ ประสาท ตา  กล้ามเนื่อด้วย

โรคนี้พบบ่อยในสตรี พบได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้สูงวัย แต่ช่วงวัยที่พบมากคือช่วงอายุ 20 - 40 ปี

สาเหตุ

มีหลายประการเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางการติดเชื้อ ปัจจัยทางด้านฮอร์โมนเพศ และปัจจัยทางด้านระบบภูมิต้านทาน เช่นผู้ป่วยมีปัจจัยทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรคและได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยอื่นๆก็จะเกิดโรคนี้ขึ้นได้

อาการ

ข้ออักเสบพร้อมกันหลายข้อ โดยเฉพาะข้อมือ ข้อนิ้วมือ ปวดตลอดเวลาข้อผืดขัดหลังตื่นนอนตอนเช้า  มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ปากแห้งตาแห้ง การเคลื่อนไหวลดลง

วิธีการรักษา

1. การรักษาโดยไม่ใช่ยา

ผู้ป่วยทำความเข้าใจในโรค ไม่ใช้ข้อทำงานหนักมากเกินไป ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทำให้ผู้ป่วยปวดข้อน้อยลง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน เช่นใช้ก๊อกน้ำแบบปัดและหมุนเป็นต้น

2. การรักษาด้วยยา

กลุ่มยาบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ibuprofen, naproxen, indomethacin และ diclofenac เป็นต้นแต่มีผลข้างเคียง เช่นกระเพาะอาหารอักเสบ ตับอักเสบ อาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง เลือดออกแล้วหยุดยาก

มีการพัฒนายากลุ่มใหม่ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่ายาต้านการอักเสบเดิม แต่ประสิทธิภาพบรรเทาปวดและลดการอักเสบเท่าเดิม ยากลุ่มนี้ เช่น meloxicam, celecoxib และ etoricoxib เป็นต้น

ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค ออกฤทธิ์ทำให้เซลล์ก่อการอักเสบหลั่งสารก่อการอักเสบลดลง ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น chloroquine, sulfasalazine, methotrexate, gold salt, และ leflunomide เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่อาจพบได้แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของยา เช่น ผลข้างเคียงต่อจอประสาทตา ตับอักเสบ กดไขกระดูก และพังผืดปอด เป็นต้น ดังนั้นการใช้ยาเหล่านี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ระงับการอักเสบได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดี แต่ผลข้างเคียงมาก เช่น ผิวหนังบาง น้ำหนักขึ้น ภาวะกระดูกบาง ต้อกระจก กระดูกขาดเลือด

ยาต้านสารซัยโตไคน์ ในปัจจุบันพบว่าสารก่อการอักเสบที่สำคัญในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือสารซัยโตไคน์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นกระบวนการอักเสบต่างๆ จึงมีการพัฒนายาต้านสารซัยโตไคน์ขึ้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น infliximab, etanercept และ adalimumab เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ดีมาก ลดการอักเสบได้รวดเร็ว และยับยั้งการทำลายข้อได้ สามารถใช้ในผู้ป่วยซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคแทรกซ้อนได้ การรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายสูง

3. รักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม  การผ่าตัดเยื้อบุข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกรณีผิดรูป

4. อาหาร

ทางเลือกใหม่ แก้ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร active QH เพื่อให้ร่างกายซ่อมระบบภูมิคุ้มกันที่มีปัญหาให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ

 

 

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Mon Apr 29 13:13:19 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0